ย้อนรอย หุ้นแรงไปแรง บริษัท.แคลิฟอร์เนีย ว้าว (Cawow) บทเรียนแสนแพงของคนไทย
บทเรียนแสนแพงของคนไทย
ใครเลยจะคาดคิดว่า ธุรกิจ หรือ แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ธุรกิจออกกำลัง แบรนด์ระดับโลกจากสหรัฐอเมริกาซึ่งก่อตั้งโดย "แอริค มาร์ค เลอวีน" นักธุรกิจหนุ่มก้ามปูภาพลักษณ์ดีกับพวก ที่เติบโตอย่างหวือหวาในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาจนกลายเป็นธุรกิจดาวเด่น จะปิดฉากเหมือนกิจการต้มตุ๋น
เมื่อ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ออกมาระบุอย่างไม่ลังเลว่า ผู้บริหารแห่งนี้วางแผนโกงมาตั้งแต่ต้น โดยโอนเงินออกนอกประเทศในช่วง 10 ปีของการดำเนินธุรกิจเป็นเงินรวมกว่า 1.699 พันล้านบาท และเป็นการโอนตั้งแต่ปีแรก ทั้ง ๆ ที่บริษัทแจ้งผลขาดทุนมาตลอด
ย้อนกลับปี 2543 หลังวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน แอริค มาร์ค เลวิน ชาวอเมริกัน หอบประสบการณ์ธุรกิจฟิตเนสจากฮ่องกงมาปักหลักในไทย ในชื่อ "แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์" ที่อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ บนถนนสีลม โดยชูแนวคิด Exertainment ศูนย์ออกกำลังกายครบวงจรในบรรยากาศ แสง สี เสียง และความสนุกสนาน แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ได้รับการตอบรับจากตลาดคนชั้นกลางเจนเอ็กซ์ ที่เน้นดูดี ทันทีด้วยภาพลักษณ์สถานที่ทันสมัย สอดรับกระแสดูแลสุขภาพที่เริ่มก่อตัวขึ้นในสังคมไทยเวลานั้น
แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ แอริค บรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับ วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในสัดส่วน 51 : 49 ในปี 2546 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ในปี 2547 และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2548 โดยมีชื่อย่อว่า CAWOW
หลังเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้น แคลิฟอร์เนียว้าว เพิ่มทุนเป็น 150 ล้านบาท พร้อมกับขยายสาขา2 ที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า สาขา3 ที่สุขุมวิท 23 สาขา สาขา4 เมเจอร์รัชโยธิน สาขา5 ที่พารากอนก่อนขยายไปรุกต่างจังหวัดโดยเปิดสาขา 9 ที่เชียงใหม่ และ 10 ที่พัทยา นับว่าในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เติบโตอย่างก้าวกระโดด และสามารถยึดครองฟิตเนสอันดับหนึ่งของตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ด้วยกลยุทธ์ของแอริคที่สร้างสถานที่ทันสมัย สร้างความนิยมผ่านดาราดังที่เขาจ้างมาเป็นพรีเซนเตอร์ อาทิ ลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ สินจัย หงส์ไทย ซุปตาร์ยอดนิยมฝ่ายหญิง หรือ จอย-วราลักษณ์ วาณิชย์กุล (ภายหลังเปลี่ยนสถานะมาเป็นภรรยาของเขา) และสาขาอยู่ในทำเลย่านคนทำงาน ประมาณว่าในช่วงพีกสุดของ "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" สามารถครองมาร์เก็ตแชร์ในอุตสาหกรรมนี้กว่า 55% ได้โดยไม่ยาก จากสมาชิกในปีแรกที่มีเพียง 8.5 พันราย ณ สิ้นปี 2544 ในปีแรกภายในเวลา 3 ปีโตขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 3 หมื่นรายในปี 2547 ก่อนเพิ่มเป็น 1 แสนรายในปี 2550 และสูงสุดเมื่อกลางปี 2553 ด้วยยอดสมาชิกถึง 1.6 แสนราย หรือมีผู้ใช้บริการต่อวันถึง 2 หมื่นราย
เมื่อ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟ
ย้อนกลับปี 2543 หลังวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน แอริค มาร์ค เลวิน ชาวอเมริกัน หอบประสบการณ์ธุรกิจฟิตเนสจากฮ่
แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ แอริค บรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับ วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในสัดส่วน 51 : 49 ในปี 2546 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ในปี 2547 และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด
หลังเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้น แคลิฟอร์เนียว้าว เพิ่มทุนเป็น 150 ล้านบาท พร้อมกับขยายสาขา2 ที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า สาขา3 ที่สุขุมวิท 23 สาขา สาขา4 เมเจอร์รัชโยธิน สาขา5 ที่พารากอนก่อนขยายไปรุกต่างจัง
*สัญญาณผิดปกติ
ในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว ถือเป็นลูกค้าชั้นดี แบงก์ทุกแห่งยินดีต้อนรับ แอริค ราวกับราชา และด้วยภาพลักษณ์ของ แอริค ที่นำเสนอตัวเองในภาพของหนุ่มให
หนึ่งในผู้มีประสบการณ์เล่าว่า พนักงานขายสมาชิกจะหว่านล้อมให้
ในด้านหนึ่งผู้หลวมตัวเป็นสมาชิ
*เริ่มเซ !!!
เสียงร้องเรียนและก่นด่าจากสมาช
การถอนตัวของเมเจอร์ ทำเอาแคลิฟอร์เนีย ว้าวถึงกับเซ พร้อมกับข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย
*ขาดทุนต่อเนื่อง
กับความเสื่อมถอยของผลประกอบการ
แต่ทว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่เจ้
1 เดือนหลัง แอริค วิวาห์พันล้านบาท แบงก์กรุงเทพฟ้องล้มละลาย แคลิฟอร์เนีย ว้าว มูลหนี้ 75.87 ล้านบาท !!! ก่อนที่บริษัทตัดสินใจเข้าสู่กร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,856 วันที่ 27 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น